อีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์ ที่คงรักษาไว้เพื่อการศึกษาและการเยี่ยมชมสำหรับคุ้มเจ้าหลวง ทีได้ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีการออกแบบที่มีการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมยุโรป ที่เรียกกันว่าทรงขนมปังขิงซึ่งคุ้มเจ้าหลวงหลังนี้มีความหรูหรา และมีความใหญ่โต อลังการงานสร้างมากไปด้วยประตูจำนวน 72 บานที่มีการประณีตและการแกะสลักที่สวยงาม ปัจจุบันนี้คุ้มเจ้าหลวงแห่งนี้ตกอยู่ในความดูแลของกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนของจังหวัดแพร่
โดยมีการเปิดและจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาสำหรับการเรียนรู้และเข้าชมของกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และประชานทั่วไป โดยได้เปิดทุกวันนี้ไม่เว้นวันหยุดราชการ ดังนั้นหากใครมาเที่ยวที่จังหวัดแพร่แล้วก้อย่าพลาดที่จะมาท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาและชมความสวยงามของการผสมผสานสถาปัตยกรรมทั้งแบบไทยและยุโรปในสมัยโบราณกันล่ะ เพราะความปราณีตและความสวยงามเหล่านี้จะน่าเสียดายเป็นอย่างมากหากถูกมองข้ามไปจากคนในชาติ
แต่จุดที่น่าสนใจไปไม่น้อยกว่าสถาปัตยกรรมดังกล่าวเห็นที่ว่าจะต้องเป็นห้องคุมขังนักโทษที่อยู่ใต้ดิน เป็นห้องที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่กระทำความผิด น่ากลัวมากเลยล่ะค่ะ ภายในเต็มไปด้วยภาพการลงโทษในกรณีที่กระทำความผิดด้วยวิธีการต่างๆ เมื่อเข้าไปแล้วความรู้สึกประดุจอยู่ในชั้นศาลเลย โดยจัดให้มีสามห้อง แต่ที่ร้ายแรงที่สุดคือห้องกลางที่ไม่มีแม้แต่แสงแดดได้สอดส่องเข้า ห้องนี้สำหรับนักโทษที่ร้ายแรง ส่วนสองห้องข้างๆนั้นได้มีอากาศและแสงแดดเข้าไปเหมาะสำหรับนักโทษละหุนั่นเองค่ะ